วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ เเละการจัดการ

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ เเละการจัดการ

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
1)ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหุการณ์ต่างๆ เช่น บันทึกข้อความ
2)สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้อง เช่น การหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ
3)ลักษณะข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ ข้อมูลที่ดีมีลักษณะดังนี้
-มีความถูกต้องแม่นยำ เป็นสิ่งที่สำคญอย่ามาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่าน้นไปใช้ประโยชน์ได้
-มีความอุดมสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลมีความสมบูรณ์ กระชัับและชัดเจน-
เกิดความน่าเชื่อถือ
-ถูกต้อง รวดเร็ว และปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทัันต่อเหตุการณ์-
ปัจจุบัน
-ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหวข้อตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องมากที่สุด
4)ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
(1)ข้อมูลเป็นตัวเลข (number data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวน สามารถนำไปคำนวนได้ เช่น
-เลขจำนวนเต็ม คือ ไม่มีจุดทศนิยม

-เลขทศนิยม คือ เลขที่มีจุดทศนิยม แบ่งเป็น 2 แบบ
ก)แบบที่ใช้ทั่วไป เช่น 7.0,35.23
ข)แบบทางวิทยาศาสตร์

                                               

(2)ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันเป็นความหมายได้ เช่น ICT,COMPUTER
               5)ประเภทข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
                  -ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบนทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ทัันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลสัมภาษณ์
                  -ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เช่น ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2.2 กระบวนการจดการสารสนเทศ
         แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
     1)การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
      -การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ
      -การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางสายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
2)การประมวลผลข้อมูล
      -การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน
      -การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
      -การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับ
    3)การจัดเก็บข้อมูลและดูแลรักษาข้อมูล
       -การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล
       -การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา
    4)การแสดงผลข้อมูล
       -การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา เพื่อการสื่อสารและเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       -การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีผลตอบกลับ (feedback) เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
     1)ระบบเลขฐานสอง การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์ (0) และหนึ่ง (1) โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า บิต


2)รหัสแทนข้อมูล เพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสอง
       -รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange : ASCII)  เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิตหรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิต
      -รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนจำนวนด้วยเลขฐานสอง จำนวน 16 บิต หากใช้เลขฐานสอง 8 บิต จะแทนตัวอัษรได้เพียง 256 แบบ ด้วยเหตุนี้จึงสร้างรหัสใหม่ จะแทนรูปแบบตัวอักขระได้
65,536 ตัว
     3)การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
        -บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง (0 กับ 1) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
        -ตัวอักขระ (character) คือ  ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสอง จำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล เช่น 0100 0001 ใช้แทนตัวอักขระ A เป็นต้น
       -เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นอักขระเรียงต่อกัน
       -ระเบียนข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขต ข้อมูลขึ้นไป
-แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียบข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป
      -ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน
2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
      1)ความเป็นส่วนตัว (privacy)  ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งจ้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น หมายเลขบัตร ATM หมายเลขบัตรประชาชน ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูลได้


    2)ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนเผยแพร่ข้อมูล ควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้
    3)ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล
   4)การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้คอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผุ้ใช้งาน เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล
 **** คำถาม ****
ข้อมูลและสารสนเทศหมายถึงอะไร ??

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
ประกอบด้วย เทคโนโลยี,สารสนเทศ เเละการสื่อสาร
เทคโนโลยี(technology) การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยศาสตร์มาประยุกต์ใน การพัฒาเครื่องมือ เครื่องจักรหรือเเม้กระทั่งสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
สารสนเทศ (information) ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดหรือประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ความต้องการ
การสื่อสาร (communication) การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) มาจากคำว่า เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ เชื่อมต่อกัน ซึ่งหมายถึง การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT) เมื่อนำคำทั้งสามมาเชื่อต่อกันจะมีความหมาย คือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารเเละโทรคมนาคม เพื่อผลิต เเผ่เผยเเละจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปเเบบต่างๆ
1.2.ระบบสารสนเทศ
เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บเเละจัดการข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ มี 5 ส่วนสำคัญคือ
1.ฮาร์ดเเวร์ (hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์้เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสมารถทำงานได้เร็ว
2.ซอฟต์เเวร์ (software ) เป็นโปรเเกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ภายใต้ขอบเขตที่คอมพิวเตอร์หรือโปรเเกรมนั้นๆ เเบ่งได้2 ประเภทใหญ่ๆ
- ซอฟต์เเวร์ระบบ เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์เเละซอฟต์เเวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์
- ซอฟต์เเวร์ประยุกต์ เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้

3.ข้อมูล (data ) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบุรณ์ ถูกต้อง เเม่นยำ เเละเชื่อถือได้ โดยจะรวบรวมเเละป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด เป็นต้น
4.บุคลากร ( people) ต้องมีความรู้เเละความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยเเบ่งออกเป็นผู้พัฒนาเเละผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
5. ขั้นตอนการปฏิบัติ (procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบเเละวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนประกอบทั้งห้าล้วนมีส่วนสำคัญ หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจจะทำให้ระบบสารสนเทศนั้นขาดความสมบูรณ์ได้

1.3.ปรโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
1.ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบการลงทะเบียนเเละระบบการจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น
2.ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมเเละบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ เเผ่นซีดีรอม ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้เเละนำมาใช้ได้ตลอดเวลา

3.ด้านการสื่อสารเเละโทรคมนาคม มีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการมีความสะดวกเเละรวดเร็ว เช่น การหาข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

4.ด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี การวิจัยเเละการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนเเล้วเเต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารทั้งสิ้น 

5.ด้านความบันเทิง เป็นรูปเเบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพเเละเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกเเละรวดเร็ว จึงได้รับความนิยมกันอย่างเเพร่หลาย



นอกจากประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารที่กล่าวมานั้นยังมีประโยชน์ด้านอืื่นๆอีกมากมาย เช่น ด้านสิ่งพิมพ์ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านความมั่นคง เป็นต้น



1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      -เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้ติดต่อกัันสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
      -มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสัังคม
      -อุปกรร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีขนาดกะทััดรัดและราคาถูก และมีประสิทธิภาพสูง
      -การวางแผน การวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนโดยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการตดสินใจ
      -การเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางในการดำเนินธุรกิจ
      -หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง จะปรับเปลี่ยนการเชื่อยมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่อยงาน
1.5 ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      -มีพฤติกรรมเลียนแบบเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้
     -การใช้ชีวิตของสังคมเปลี่ยนไป ทำให้พบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ลดน้อยลง
     -เข้าถึงระบบเครือข่ายง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
     -เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้เกิดการผลิตของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น 
     -การส่งข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น e-mail,facebook 
     -เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์
1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกัับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      -โปรแกรมเมอร์ (programmer)  หรือนัักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
      -นัักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
      -ผู้ดูแลระบบและผู้บริหาร (database administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล
      -ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่ายและดูแลความปลอดภััยระบบเครือข่าย     
      -ผู้พััฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster) ทำหน้าที่ดูและและควบคุมทิศทางของเว็บไซต์
      -เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวัสดี ชื่อ นางสาวจิราภา   พนารินทร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 เลขที่ 19
ชื่อเล่น เนย
ที่อยู่ 100/461 หมู่ 12 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170
เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 2540
line : creambutter
twitter : jirapa.panarin
facebook : jirapa panarin
คติประจำใจ ดีชั่วอยูที่ตัวทำ สูงต่ำอยูที่ทำตัว
เบอร์โทรศัพท์ 081-9460773