2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
1)ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหุการณ์ต่างๆ เช่น บันทึกข้อความ
1)ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหุการณ์ต่างๆ เช่น บันทึกข้อความ
2)สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้อง เช่น การหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ
3)ลักษณะข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ ข้อมูลที่ดีมีลักษณะดังนี้
-มีความถูกต้องแม่นยำ เป็นสิ่งที่สำคญอย่ามาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่าน้นไปใช้ประโยชน์ได้
-มีความอุดมสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลมีความสมบูรณ์ กระชัับและชัดเจน-
เกิดความน่าเชื่อถือ
-ถูกต้อง รวดเร็ว และปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทัันต่อเหตุการณ์-
ปัจจุบัน
-ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหวข้อตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องมากที่สุด
4)ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
(1)ข้อมูลเป็นตัวเลข (number data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวน สามารถนำไปคำนวนได้ เช่น
-เลขจำนวนเต็ม คือ ไม่มีจุดทศนิยม
3)ลักษณะข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ ข้อมูลที่ดีมีลักษณะดังนี้
-มีความถูกต้องแม่นยำ เป็นสิ่งที่สำคญอย่ามาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่าน้นไปใช้ประโยชน์ได้
-มีความอุดมสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลมีความสมบูรณ์ กระชัับและชัดเจน-
เกิดความน่าเชื่อถือ
-ถูกต้อง รวดเร็ว และปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทัันต่อเหตุการณ์-
ปัจจุบัน
-ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหวข้อตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องมากที่สุด
4)ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
(1)ข้อมูลเป็นตัวเลข (number data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวน สามารถนำไปคำนวนได้ เช่น
-เลขจำนวนเต็ม คือ ไม่มีจุดทศนิยม

-เลขทศนิยม คือ เลขที่มีจุดทศนิยม แบ่งเป็น 2 แบบ
ก)แบบที่ใช้ทั่วไป เช่น 7.0,35.23
ข)แบบทางวิทยาศาสตร์
ก)แบบที่ใช้ทั่วไป เช่น 7.0,35.23
ข)แบบทางวิทยาศาสตร์

(2)ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character
data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้
แต่นำมาเรียงต่อกันเป็นความหมายได้ เช่น ICT,COMPUTER
5)ประเภทข้อมูล
แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
-ข้อมูลปฐมภูมิ
(primary data) คือ
ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบนทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ทัันสมัย
และเป็นปัจจุบันมากกว่าทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลสัมภาษณ์
-ข้อมูลทุติยภูมิ
(secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว
ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เช่น
ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2.2 กระบวนการจดการสารสนเทศ
แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1)การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
-การรวบรวมข้อมูล
เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ
-การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางสายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
2)การประมวลผลข้อมูล
-การจัดกลุ่มข้อมูล
ข้อมูลที่จัดเก็บควจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน
-การจัดเรียงข้อมูล
เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว
ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
-การสรุปผลข้อมูล
หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับ
3)การจัดเก็บข้อมูลและดูแลรักษาข้อมูล
-การเก็บรักษาข้อมูล
การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล
-การทำสำเนาข้อมูล
การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา
4)การแสดงผลข้อมูล
-การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล
เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา
เพื่อการสื่อสารและเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-การปรับปรุงข้อมูล
หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีผลตอบกลับ (feedback) เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
1)ระบบเลขฐานสอง
การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์ (0) และหนึ่ง
(1) โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า บิต

2)รหัสแทนข้อมูล
เพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน
จึงกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสอง
-รหัสแอสกี
(American Standard Code Information Interchange : ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8
บิตหรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8
บิต
-รหัสยูนิโค้ด
(Unicode) เป็นรหัสแทนจำนวนด้วยเลขฐานสอง จำนวน 16
บิต หากใช้เลขฐานสอง 8 บิต จะแทนตัวอัษรได้เพียง 256
แบบ ด้วยเหตุนี้จึงสร้างรหัสใหม่ จะแทนรูปแบบตัวอักขระได้
65,536 ตัว
3)การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
-บิต
(bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง (0
กับ 1) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
-ตัวอักขระ
(character) คือ
ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสอง
จำนวน 8 บิต หรือ 1
ไบต์ ในการแทนข้อมูล เช่น 0100 0001 ใช้แทนตัวอักขระ A เป็นต้น
-เขตข้อมูล
(field) คือ ข้อมูลที่เป็นอักขระเรียงต่อกัน
-ระเบียนข้อมูล
(record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน
ตั้งแต่ 1 เขต ข้อมูลขึ้นไป
-แฟ้มข้อมูล (file) คือ
กลุ่มของระเบียบข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1
ระเบียนขึ้นไป
-ฐานข้อมูล
(database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน
2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
1)ความเป็นส่วนตัว
(privacy) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งจ้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง
เช่น หมายเลขบัตร ATM หมายเลขบัตรประชาชน
ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูลได้

2)ความถูกต้อง
(accuracy) ก่อนเผยแพร่ข้อมูล
ควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด
ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้
3)ความเป็นเจ้าของ
(property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา
จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล
4)การเข้าถึงข้อมูล
(accessibility) การใช้คอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผุ้ใช้งาน
เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล
**** คำถาม ****
ข้อมูลและสารสนเทศหมายถึงอะไร ??